เมื่อแม่หรือคนในครอบครัวของคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน เป็นปกติที่คุณจะรู้สึกกังวลหรือเครียดเกี่ยวกับผลกระทบที่จะตามมา ทั้งในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันของตัวท่านเอง รวมไปถึงการที่คุณจะให้ความช่วยเหลือท่านได้อย่างไร มีหลายวิธีที่สามารถใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน เช่นเดียวกับโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้แก่
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน แพทย์จะประเมินความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหัก และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะรวมถึงการใช้ยาเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก และลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหัก แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานแคลเซียม และวิตามินดีเสริม เนื่องจากแคลเซียมและวิตามินดีเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง1,2
เช่นเดียวกับโรคเรื้อรังทั่วไป การรักษาโรคกระดูกพรุนจะได้ผลดีก็ต่อเมื่อผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยาไม่ต่อเนื่องจะส่งผลให้ความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังหัก จะส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง3,4 คุณสามารถช่วยท่านได้ด้วยการดูแลให้ท่านรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง โดยอาจบันทึกข้อมูลไว้ในโทรศัพท์หรือสมุดเพื่อช่วยเตือน
หากพบว่าคนในครอบครัวของท่านเป็นโรคกระดูกพรุน การหกล้มหรือการกระแทกเพียงเล็กน้อย สามารถทำให้เกิดภาวะกระดูกหักได้ การหกล้มเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดกระดูกหัก พบว่า 90% ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก มีสาเหตุมาจากการหกล้ม1 คุณสามารถจัดบ้านเพื่อลดความเสี่ยงจากการหกล้มได้ กด ตรงนี้ เพื่อศึกษาวิธีป้องกันการหกล้ม
แพทย์จะแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันสำหรับผู้ป่วย ควบคู่ไปกับการได้รับยารักษาโรคกระดูกพรุน เพื่อช่วยให้กระดูกแข็งแรง และลดความเสี่ยงที่จะหกล้ม6 สิ่งสำคัญ 3 ประการที่จะช่วยให้กระดูกแข็งแรงในทุกช่วงวัย และลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน ได้แก่1
References
1 International Osteoporosis Foundation. Facts and statistics. www.iofbonehealth.org.
2 International Agency for Research on Cancer. Cancer Today. 2018. gco.iarc.fr.
3 International Osteoporosis Foundation. The Asia-Pacific regional audit. Epidemiology, costs & burden of osteoporosis in 2013. 2013. www.iofbonehealth.org.
4 International Osteoporosis Foundation. That’s osteoporosis. A compact guide to osteoporosis and its prevention and treatment. 2019. www.iofbonehealth.org.
5 Cooper C. Am J Med 1997;103:12S-17S; discussion 17S–19S.