การวินิจฉัยโรค ยิ่งเร็ว ยิ่งดี

กระดูกหักที่มีสาเหตุมาจากโรคกระดูกพรุน ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วที่สุด พบว่า 80% ของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยช้า มีความปรารถนาที่จะได้รับการตรวจวินิจฉัยที่เร็วกว่านี้1

หากเคยประสบปัญหากระดูกสะโพกหัก จะมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติถึง 5 เท่า ที่จะเกิดกระดูกสะโพกหักซ้ำเป็นครั้งที่สองภายในระยะเวลา 1 ปี และมีความเสี่ยงที่กระดูกตำแหน่งอื่นจะหักด้วยเช่นกัน2,3

พบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมและรับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักในอนาคต4

คำถามที่แพทย์อาจจะถามคุณ

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน แพทย์จะดูประวัติสุขภาพ และอาจจะมีการตรวจเพิ่มเติม เพื่อดูความแข็งแรงของกระดูก:4

  • การใช้ชีวิตประจำวัน – แพทย์จะซักถามเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การได้รับแคลเซียมและวิตามินดี การออกกำลังกาย และการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ประวัติครอบครัว – ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากบิดา มารดา พี่น้อง หรือสมาชิกในครอบครัว มีประวัติกระดูกหักมาก่อน
  • ประวัติสุขภาพ – โรคบางอย่างอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูก แพทย์จะดูประวัติสุขภาพและยาที่รับประทาน

คุณอาจจะได้รับการตรวจมวลกระดูก เพื่อวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน

หากมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน สามารถแจ้งแพทย์เพื่อขอรับการตรวจมวลกระดูก เพื่อดูความหนาแน่นของกระดูกบริเวณกระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพก การตรวจนี้เรียกว่า การตรวจ DEXA สแกน (dual-energy x-ray absorptiometry).

ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ DEXA สแกน:5

  • ไม่เจ็บปวด ไม่ต้องเจาะหรือฉีดสารใดๆ เข้าสู่ร่างกาย
  • ปลอดภัย มีการสัมผัสกับรังสีน้อยกว่าการตรวจ X-ray โดยทั่วไป
  • ใช้เวลาตรวจเพียง 10 - 20 นาที
  • ผลการตรวจจะแสดงค่า T-score, ซึ่งจะช่วยวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน และเป็นตัวบ่งชี้แผนการรักษา

กระดูกหักสามารถป้องกันได้

การรักษาโรคกระดูกพรุนจะช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้นและลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้4,6

  • แพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งจะรวมถึงการใช้ยาเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก ทั้งนี้ จะพิจารณาร่วมกับ ระดับความเสี่ยง ประวัติสุขภาพ รวมถึงยาที่รับประทานอยู่4,6
  • ยารักษาโรคกระดูกพรุน สามารถช่วยลดความเสี่ยงกระดูกหักหลายตำแหน่ง ทั้งกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกขา และกระดูกข้อมือได้ถึง 15-70% ขึ้นอยู่กับตำแหน่งกระดูกที่หัก7,8
  • ยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุนมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบรับประทานและแบบฉีด ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจจะต้องได้รับยาทุกวัน สัปดาห์ละครั้ง เดือนละครั้ง หรือปีละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับรูปแบบของยาที่ได้รับ6
  • แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานแคลเซียมและวิตามินดี เพื่อช่วยเสริมให้การรักษาด้วยยาโรคกระดูกพรุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การใช้ยาในการรักษาโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะการเจ็บป่วยแบบเรื้อรัง ดังนั้น การรักษาอาจใช้ระยะเวลาหลายปี9 และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

RESOURCES

ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน

References

1 Amgen and International Osteoporosis Foundation. Fight the fracture IOF survey. 2017. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/surveys.

2 Lee SH, et al. Acta Orthop Traumatol Turc 2016;50:437–42.

3 Balasubramanian A, et al. Osteoporos Int 2019;30:79–92.

4 International Osteoporosis Foundation. Love your bones: Protect your future. 2016. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/brochures.

5 NHS. Bone density scan (DEXA scan). 2019. www.nhs.uk

6 International Osteoporosis Foundation. Treatment. osteoporosis.foundation/patients/treatment.

7 Kanis JA, et al. Osteoporos Int 2013;24:23–57.

8 Black DM, et al. N Engl J Med 2007;356:1809–22.

9 Johansson H, et al. Osteoporos Int 2017;28:775–80.