ถ้าคุณเป็นโรคกระดูกพรุน การกระแทกหรือหกล้มเพียงเล็กน้อยก็สามารถส่งผลให้เกิดกระดูกหักได้ 2

กระดูกหัก อาจเป็นการหักทั้งหมดหรือหักเพียงบางส่วนของกระดูก

เมื่อคุณเป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกของคุณจะเปราะบาง เมื่อมีการกระแทกหรือหกล้มเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้กระดูกหักได้ เรียกว่ากระดูกหักจากความเปราะบาง2 ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับกระดูกทุกส่วนในร่างกาย แต่ตำแหน่งที่มักพบได้บ่อย คือ กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ และกระดูกสันหลัง3

กระดูกหักมิใช่เพียงทำให้เจ็บปวดเท่านั้น

กระดูกหักอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตของคุณ และคนรอบตัวคุณ 4

  • ราว 25% ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก จะเสียชีวิตภายใน 1 ปีหลังจากกระดูกหัก และน้อยกว่าครึ่งของผู้ป่วยที่รอดชีวิต ที่ยังสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้แบบเดิม
  • การฟื้นตัวใช้ระยะเวลานาน ส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน เช่น การออกไปนอกบ้าน การอาบน้ำ หรือ การเล่นกับลูกหลาน
  • 1 ปีหลังจากเกิดกระดูกสะโพกหัก พบว่า 60% ของผู้ป่วยยังต้องได้รับการช่วยเหลือ ในเรื่องการรับประทานอาหาร การแต่งตัว อาบน้ำ และกว่า 80% ไม่สามารถขับรถ หรือออกนอกบ้านได้

กระดูกหักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคุณ5,6

กระดูกหักไม่ใช่การเสื่อมตามวัย

  • เมื่ออายุมากขึ้น เป็นเรื่องปกติที่ความหนาแน่นของกระดูกจะลดลง แต่โรคกระดูกพรุน หรือกระดูกหักจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยนั้น ถือเป็นเรื่องไม่ปกติ7
  • กระดูกหักแต่ละครั้งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน5,6

กระดูกหักสามารถป้องกันได้8 ไม่สายเกินไปที่จะเริ่มต้นดูแลสุขภาพกระดูกของคุณ

การเกิดกระดูกหักหนึ่งครั้งอาจส่งผลให้เกิดกระดูกหักครั้งต่อๆไปได้

  • หลังจากเกิดกระดูกหักครั้งแรก ความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักในอนาคตจะเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า9 โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใน 2 ปีหลังการเกิดกระดูกหัก10
  • ครั้งถัดไปของคุณอาจเป็นกระดูกสะโพกหัก คุณทราบไหมว่า40% ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก พบว่าเคยมีกระดูกหักบริเวณอื่นมาก่อน11

ควรตระหนักว่า กระดูกหัก อาจเกิดจากโรคกระดูกพรุน และโรคกระดูกพรุนสามารถรักษาได้ 8

RESOURCES

ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน

References

1 Amgen and International Osteoporosis Foundation. Fight the fracture IOF survey. 2017. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/surveys.

2 International Osteoporosis Foundation. Capture The Fracture. A Global Campaign To Break The Fragility Fracture Cycle. 2012. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/thematic-reports.

3 Sambrook P, et al. Lancet 2006;367:2010–18.

4 International Osteoporosis Foundation. The Asia-Pacific regional audit. Epidemiology, costs & burden of osteoporosis in 2013. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/audits.

5 Adachi JD, et al. Mayo Clin Proc 2010;85:806–13.

6 Kerr C, et al. Osteoporos Int 2017;28:1597–607.

7 International Osteoporosis Foundation. About osteoporosis. 2015. osteoporosis.foundation/patients/about-osteoporosis .

8 Cosman F, et al. Osteoporos Int 2014;25:2359–81.

9 Lyet J. The Journal of Lancaster General Hospital 2006;1.

10 Johansson H, et al. Osteoporos Int 2017;28:775–80.

11 Papaioannou A, et al. BMC Musculoskelet Disord 2004;5:11.