ลองนึกดูว่า แม่ของคุณเคยมีกระดูกสะโพกหักหรือไม่ พ่อของคุณมีหลังค่อมหรือไม่ หรือยายของคุณมีส่วนสูงที่ลดลงอย่างรวดเร็วเมื่ออายุมากขึ้นหรือไม่ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นสัญญาณของโรคกระดูกพรุน หากพวกท่านเคยประสบปัญหากระดูกหักหรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน แสดงว่าครอบครัวของคุณมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุนหรือมีความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ
การทราบข้อมูลประวัติสุขภาพของคนในครอบครัวเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะความแข็งแรงของกระดูกเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การที่มีพ่อแม่เป็นโรคกระดูกพรุน เคยเกิดกระดูกหัก มีส่วนสูงลดลง หรือหลังค่อม เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า ครอบครัวของคุณมีความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ ซึ่งส่งผลทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้น1
จากการศึกษาในผู้ชายและผู้หญิงจำนวน 34,928 ราย ที่มีประวัติครอบครัวเคยเกิดภาวะกระดูกหัก บริเวณกระดูกสะโพกหรือกระดูกบริเวณอื่นๆ พบว่า2
จากการศึกษาของ Seeman และคณะโดยการเปรียบเทียบความหนาแน่นของมวลกระดูกระหว่างผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคกระดูกพรุนกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่เป็นโรคกระดูกพรุน และทำการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกของลูกสาวของเธอทั้ง 2 กลุ่มเพื่อเปรียบเทียบกัน พบว่า3
ประเมินความเสี่ยงได้จากแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ4 กด ตรงนี้ เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน และประเมินความเสี่ยงของคุณ ทำแบบประเมินออนไลน์ แล้วนำผลการประเมินที่ได้ไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป
References
1 International Osteoporosis Foundation. Love your bones: Protect your future. 2016. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/brochures
2 Healthy Bones Australia. Osteoporosis treatment and bone health. healthybonesaustralia.org.au.
3 International Osteoporosis Foundation. Treatment. osteoporosis.foundation/patients/treatment
4 Liu J, et al. Osteoporos Int 2018;29:2409–17.
5 International Osteoporosis Foundation. Calcium. osteoporosis.foundation/patients/prevention/calcium.
6 International Osteoporosis Foundation. Vitamin D. osteoporosis.foundation/patients/prevention/vitamin-d.
7 Healthy Bones Australia. Exercise and bone health. healthybonesaustralia.org.au.