โรคกระดูกพรุนคงไม่เกิดขึ้นกับคุณ ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น!
Banner

คุณคิดว่าคุณจะเป็นโรคกระดูกพรุน
หรือไม่?

ทุกๆ 3 วินาที จะมีการเกิดภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนขึ้นทั่วโลก1 เพียงแค่เป็นผู้หญิงที่มีอายุ 50ปีขึ้นไป ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนและกระดูกหักแล้ว น่าประหลาดใจที่ไม่มีใครคาดคิดว่าโรคกระดูกพรุนจะเกิดขึ้นกับตัวเอง

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (NOF) ได้ทำการสำรวจกลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ในปี ค.ศ.2017 พบว่า:2

  • ประมาณ 7 ใน10 (68%) ไม่เคยตระหนักเลยว่าพวกเธอมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและการเกิดกระดูกหัก แม้ว่าเธอจะทราบถึงความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนก็ตาม
  • มากกว่า 8 ใน 10 (82%) ไม่ทราบว่าการเกิดกระดูกหักนั้นเกี่ยวข้องกับโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนเกิดได้กับผู้หญิง 1ใน 3 คน

  • 1 ใน 3 ของผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ประสบปัญหากระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน1
  • คาดการณ์กันว่าในปี ค.ศ. 2020 ผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียกว่า 580 ล้านคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ไม่น้อยกว่า 194 ล้านคนจะประสบกับปัญหากระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน3

การเกิดกระดูกหักส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ทำให้รู้สึกเจ็บปวด เคลื่อนไหวไม่สะดวก และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ คุณอาจจะไม่สามารถทำทุกอย่างได้ตามที่ต้องการ เมื่อเป็นโรคกระดูกพรุน4,5

แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน6

  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ
  • แพ้กลูเตนหรือแป้งสาลี
  • ใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์
  • น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
  • ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีจากอาหารในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
  • เคลื่อนไหวร่างกายน้อย
  • หรือเคยหกล้มในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

หากคำตอบของคุณคือ ใช่ ในข้อใดข้อหนึ่ง คุณอาจจะมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและการเกิดกระดูกหักในอนาคต

กด ตรงนี้ เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆต่อโรคกระดูกพรุนและการเกิดกระดูกหัก

น่าเสียใจมาก ที่คนส่วนใหญ่เพิ่งคิดถึงโรคกระดูกพรุนหลังจากที่เกิดกระดูกหักแล้ว

TH-01175-PRO-2020-December

RECENT POSTS

References

1 Sambrook P, et al. Lancet 2006;367:2010–18.

2 International Osteoporosis Foundation. Spot the signs of a broken spine. 2018. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/brochures.

3 Gonnelli S, et al. Osteoporos Int 2013;24:1151–59.

4 Lems WF. Ann Rheum Dis 2007;66:2–4.

5 Xu W, et al. Bone 2011;48:307–11.

6 International Osteoporosis Foundation. Osteoporosis.Risk.Check. 2019. riskcheck.osteoporosis.foundation.

7 Siminoski K, et al. Osteoporos Int 2005;16:403–10.

8 Cosman F, et al. Osteoporos Int 2014;25:2359–81.

9 International Osteoporosis Foundation. Treatment. osteoporosis.foundation/patients/treatment

10 Guglielmi G, et al. Eur Radiol 2008;18:1484–96.