หลายคนมักจะเข้าใจว่าโรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุ ความจริงแล้วโครงสร้างของกระดูกที่แข็งแรง จะสร้างขึ้นในช่วงที่กระดูกมีการเจริญเติบโตและพัฒนา ความหนาแน่นของมวลกระดูก (BMD) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความแข็งแรงของกระดูกที่เพิ่มขึ้นเพียง 10% จะช่วยส่งผลชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนออกไปได้ถึง 13 ปี1
กระดูกเป็นเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย กระดูกมีกระบวนการสลายและสร้างทดแทนกันตลอดของช่วงชีวิต การรับประทานแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม ได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ และดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ จะส่งผลให้มีสุขภาพกระดูกที่แข็งแรง การดูแลป้องกันตัวเองจากโรคกระดูกพรุน จึงควรเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กไปตลอดทุกช่วงวัยของชีวิต
![]() |
การสร้างกระดูกที่แข็งแรงในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น1 ช่วงวัยนี้กระดูกจะมีการพัฒนาอย่างมากทั้งด้านขนาดและความแข็งแรง ประมาณ 50% ของมวลกระดูกจะถูกสร้างสะสมไว้ในช่วงวัยรุ่นต่อเนื่องไปจนถึงช่วงอายุประมาณ 20 ปีกว่าๆ ช่วงอายุที่มีการสร้างกระดูกมากที่สุดในเด็กผู้ชายคือ 14 ปี และในเด็กผู้หญิงคือ 12.5 ปี เคล็ดลับสำหรับเด็ก:1
|
![]() |
การดูแลกระดูกและกล้ามเนื้อให้แข็งแรงในผู้ใหญ่1 ผู้ใหญ่จะเริ่มสูญเสียเนื้อเยื่อกระดูกเมื่อเข้าสู่วัย 40 เป็นต้นไป เนื่องจากกระบวนการสร้างจะเกิดช้ากว่ากระบวนการสลายกระดูก ดังนั้นในวัยนี้จึงควรป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกเป็นหลัก เคล็ดลับสำหรับผู้ใหญ่:1
|
![]() |
การป้องกันกระดูกอ่อนแอในผู้สูงอายุ1,2 ผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจะสูญเสียมวลกระดูกกว่า 20% ซึ่งเกิดในผู้ชายเช่นกันแต่เกิดขึ้นช้ากว่า การดูแลสุขภาพร่างกาย กล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรงอยู่เสมอ จะช่วยส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่เป็นภาระของคนรอบข้าง เคล็ดลับสำหรับผู้สูงอายุ:1
|
References
1 International Osteoporosis Foundation. Serve up bone strength throughout your life. 2015. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/brochures.
2 National Osteoporosis Foundation. Healthy bones for life - Patient’s guide. 2014. www.nof.org.