เรื่องของพัชรี* - เธอไม่รู้มาก่อนว่าเป็นโรคกระดูกพรุน
Banner

พัชรีเข้าใจมาตลอดว่าเธอไม่มีอาการที่แสดงว่าเป็นโรคกระดูกพรุน จนกระทั่งเพื่อนของเธอกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน เพราะโรคกระดูกพรุนทำให้กระดูกอ่อนแอและแตกหักง่าย พัชรีเริ่มกังวลว่าตัวเธอจะเป็นโรคกระดูกพรุนแบบเพื่อนหรือไม่ เธอไม่อยากเป็นแบบเพื่อนที่ต้องไปพักฟื้นที่สถานพยาบาลหลังจากที่กระดูกสะโพกหัก

ในการนัดพบแพทย์ครั้งหน้า พัชรีจึงจะปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจประเมินความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน

ขั้นตอนแรก แพทย์ทำการตรวจสุขภาพเบื้องต้นและเช็คประวัติการรักษาที่ผ่านมาเพื่อประเมินสุขภาพกระดูกของเธอ1

วัตถุ FTF_tick-wh กรณีประวัติศาสตร์
อายุมากกว่า 50 ปี? ใช่, พัชรีอายุ 71 ปี - โรคกระดูกพรุนมักเกิดในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป และ ผู้ชายที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไป
เกิดกระดูกหักหลังจากอายุ 50 ปีหรือไม่?
  ไม่, พัชรีไม่มีประวัติการเกิดกระดูกหักมาก่อน
น้ำหนักต่ำหรือสูงกว่าค่ามาตรฐาน?
ใช่, พัชรีมีน้ำหนักสูงกว่าค่ามาตรฐานเล็กน้อย วัดค่า BMI ได้ 27 kg/m2 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
ส่วนสูงลดลงหรือไม่?

ไม่, พัชรีไม่ได้สังเกตเว่าเธอส่วนสูงลดลง แพทย์ได้ทำการวัดส่วนสูงเพื่อเปรียบเทียบกับส่วนสูงในอนาคต
ประวัติการเจ็บป่วยของบิดามารดา?   ไม่มี, บิดาและมารดาของพัชรีไม่เคยเป็นโรคกระดูกพรุนหรือมีภาวะกระดูกหัก
โรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับภาวะโรคกระดูกพรุน
ใช่, พัชรีเป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ได้รับยาที่ส่งผลต่อโรคกระดูกพรุน
  ไม่, พัชรีไม่ได้รับยาอะไรเลย 
ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไปหรือสูบบุหรี่หรือไม่?    ไม่, พัชรีดื่มไวน์ตอนรับประทานอาหารเย็น 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ และไม่เคยสูบบุหรี่ 

จากผลการประเมินพบว่า พัชรีมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ซึ่งจะส่งผลให้เธอมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักในอนาคต แพทย์จึงส่งเธอเข้ารับการสแกนกระดูกที่เรียกว่า DEXA เพื่อประเมินความหนาแน่นมวลกระดูก

DEXA scan คืออะไร2

DEXA ย่อมาจาก dual-energy X-ray absorptiometry เป็นเครื่องที่สามารถสแกนกระดูกเพื่อวัดค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกได้อย่างรวดเร็ว และไม่ทำให้เกิดบาดแผล ซึ่งจะเป็นการวัดมวลกระดูกบริเวณกระดูกสันหลังและกระดูกสะโพก การทำ DEXA สแกน ช่วยให้แพทย์พิจารณาเลือกการรักษาเพื่อทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น โดยผลที่ได้จะเรียกว่าค่า T-score ซึ่งจะนำไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรง ค่านี้จะสามารถบอกได้ว่า มีสุขภาพกระดูกปกติ ความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อยหรือเป็นโรคกระดูกพรุน พัชรีมีค่า T-score -2.6 ที่คอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพก จากผลดังกล่าวแพทย์จึงวิจฉัยว่าพัชรีเป็นโรคกระดูกพรุน

 

พัชรีมีโอกาสที่จะเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนหรือไม่2

แพทย์ได้ป้อนข้อมูลค่า T-score และประวัติการรักษาของพัชรี ลงในโปรแกรม online ที่มีชื่อว่า FRAX (fracture risk assessment tool) เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูก พรุน ผลการประเมินพบว่าเธอมีความเสี่ยงถึง 1/10 (8.5%) ที่กระดูกตำแหน่งสำคัญจะหัก และมีความเสี่ยงประมาณ 1/20 (4.5%) ที่กระดูกสะโพกจะหัก ในระยะเวลา10 ปีข้างหน้า

แพทย์ได้อธิบายถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาตต และเริ่มต้นให้การรักษาโรคกระดูกพรุนกับพัชรี รวมทั้งร่วมกันวางแผนในการดูแลสุขภาพกระดูกเพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหัก

*พัชรีเป็นผู้ป่วยสมมติ

 

TH-01067-PRO-2020-August

RECENT POSTS

References

1 International Osteoporosis Foundation. Facts and statistics. osteoporosis.foundation/facts-statistics.

2 International Agency for Research on Cancer. Cancer Today. 2018. gco.iarc.fr.

3 International Osteoporosis Foundation. The Asia-Pacific regional audit. Epidemiology, costs & burden of osteoporosis in 2013. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/audits.

4 International Osteoporosis Foundation. That’s osteoporosis. A compact guide to osteoporosis and its prevention and treatment. 2019. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/brochures.

5 Cooper C. Am J Med 1997;103:12S-17S; discussion 17S–19S.