กระดูกหักเพียงครั้งเดียวอาจทำให้เกิดกระดูกหักเพิ่ม
Banner

คุณเคยกระดูกหักหรือไม่? ในแต่ละวันจะมีคนที่ประสบปัญหาจากภาวะกระดูกหัก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการหกล้มเพียงเล็กน้อย เช่น ลื่นล้มในห้องครัว โดยอาจมองว่าเป็นเพียงอุบัติเหตุ แต่ความจริงแล้วการเกิดกระดูกหักนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคกระดูกพรุน1-3

ไม่ใช่แค่กระดูกหัก แต่เป็นสัญญาณเตือนว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น

ภาวะกระดูกหักจากความเปราะบาง คือภาวะที่เกิดกระดูกหักจากการหกล้มในระดับที่ไม่สูงเกินระดับศีรษะ การเกิดกระดูกหักจากการกระแทกเพียงเล็กน้อยนั้น เป็นสัญญาณเตือนว่ากระดูกของท่านกำลังอ่อนแอจากโรคกระดูกพรุน4 โดยพบว่ามีคนที่ต้องเผชิญกับภาวะกระดูกหักที่มีสาเหตุมาจากโรคกระดูกพรุนทุกๆ 3 วินาทีทั่วโลก5

เมื่อเกิดกระดูกหักครั้งแรก อาจส่งผลทำให้เกิดกระดูกหักเพิ่มอีกบริเวณอื่น

ภาวะกระดูกหักจากความเปราะบางที่เกิดขึ้นครั้งแรก อาจดูเหมือนเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย เช่น กระดูกข้อมือหัก ซึ่งต้องใช้เวลาระหว่าง 8 สัปดาห์ ถึง 6 เดือนที่กระดูกจะกลับมาเชื่อมติดกัน และยังคงรู้สึกไม่สบายหรือตึงบริเวณนั้นไปอีกระยะหนึ่ง6 อย่างไรก็ตาม หากท่านต้องเผชิญกับภาวะกระดูกหักครั้งถัดไป อาจจะมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น กระดูกสะโพก หรือกระดูกสันหลังหัก การเกิดกระดูกสะโพกหักนั้นมักจะเกิดผลที่รุนแรงตามมา โดยส่วนใหญ่ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ต้องมีคนคอยดูแล หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต4

แต่ละครั้งที่มีภาวะกระดูกหักจากความเปราะบาง ความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักในอนาคตจะเพิ่มขึ้น

  • หลังจากเกิดภาวะกระดูกหักจากความเปราะบาง จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักในอนาคต เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า7
  • หลังจากเกิดกระดูกสันหลังหัก จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกสันหลังหักอีกครั้ง ตำแหน่ง อื่นๆ หัก เพิ่มขึ้น 7.3 เท่า8
  • หลังจากกระดูกสะโพกหัก จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกสะโพกหักอีกครั้งตำแหน่งอื่นๆ หัก เพิ่มขึ้น 7.1 เท่าภายใน 3 เดือนแรก9

ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญ เพราะการเกิดกระดูกหักเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้นได้

หากคุณหกล้มและเกิดกระดูกหัก คุณควรนึกถึงโรคกระดูกพรุน

หากคุณมีอายุ 50 ปีขึ้นไป และเคยเกิดภาวะกระดูกหักจากการหกล้มหรือการกระแทกเพียงเล็กน้อย คุณควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับคุณ เพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหักเพิ่มในอนาคต10,11 ปรึกษาแพทย์ของคุณ เพื่อดูแลสุขภาพกระดูกให้แข็งแรงขึ้น

กด ตรงนี้ เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน

TH-01060-PRO-2020-April

RECENT POSTS

References

1 Kanis JA, et al. Bone 2004;35:375–82.

2 Gonnelli S, et al. Osteoporos Int 2013;24:1151–59.

3 Amgen and International Osteoporosis Foundation. Fight the fracture IOF survey. 2017. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/surveys

4 International Osteoporosis Foundation. That’s osteoporosis. A compact guide to osteoporosis and its prevention and treatment. 2019. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/brochures.

5 International Osteoporosis Foundation. Facts and statistics. osteoporosis.foundation/facts-statistics

6 WebMD. The basics of a broken wrist. webmd.com/a-to-z-guides/.

7 Lyet J. The Journal of Lancaster General Hospital 2006;1.

8 Gehlbach S, et al. J Bone Miner Res 2012;27:645–53.

9 Lee SH, et al. Acta Orthop Traumatol Turc 2016;50:437–42.

10 Kanis JA, et al. Osteoporos Int 2013;24:23–57.

11 Black DM, et al. N Engl J Med 2007;356:1809–22.