ทุกคนคงเคยลื่นหรือสะดุดล้ม เมื่อมีอายุมากขึ้นการหกล้มมักเกิดบ่อยและมีโอกาสที่จะได้รับการบาดเจ็บที่รุนแรงขึ้น ทั้งนี้พบว่า 1ใน3 ของคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะเกิดการหกล้มต่อปี และมีความเสี่ยงที่จะหกล้มบ่อยขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น1
การหกล้มเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดกระดูกหัก การเกิดกระดูกหักบางตำแหน่งเช่น กระดูกสะโพก จะส่งผลกระทบทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้จำเป็นต้องมีผู้ช่วยดูแลหรือพักฟื้นในสถานพยาบาล นอกจากนี้ประสบการณ์จากการหกล้มจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความไม่มั่นใจ และกลัวที่จะเกิดการหกล้มขึ้นอีก2
เมื่ออายุมากขึ้น สายตามีการเปลี่ยนแปลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ข้อยึดติด ส่งผลทำให้ความเสี่ยงของการหกล้มเพิ่มขึ้น การหกล้มถือเป็นสัญญาณหนึ่งของปัญหาสุขภาพ อาจเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยา หรือปัญหาด้านการทรงตัว หรือแม้กระทั่การเจ็บป่วยในระยะสั้น (ไข้หวัด หรือ ติดเชื้อ) หรือการผ่าตัด ก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงแบบชั่วคราวในการหกล้มได้เช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรปรึกษาแพทย์หากคุณเกิดการหกล้ม อย่าคิดว่าเป็นเพราะความไม่ระมัดระวังหรือซุ่มซ่ามจึงทำให้เกิดการหกล้ม3
การหกล้มสามารถป้องกันได้ ซึ่งมีหลายวิธีที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการหกล้มในผู้สูงอายุ
วิธีการที่ทำให้สุขภาพแข็งแรง และลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม3
References
1 International Osteoporosis Foundation. Patient stories. osteoporosis.foundation/patients/patient-stories.
2 International Osteoporosis Foundation. Treatment. osteoporosis.foundation/patients/treatment
3 National Osteoporosis Foundation. Healthy bones for life - Patient’s guide. 2014. www.nof.org.
4 International Osteoporosis Foundation. Serve up bone strength throughout your life. 2015. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/brochures.
5 International Osteoporosis Foundation. Love your bones: Protect your future. 2016. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/brochures
6 Science Daily. Prolonged sleep disturbance can lead to lower bone formation. 2017. www.sciencedaily.com.
7 National Sleep Foundation. How much sleep do we really need? www.sleepfoundation.org.