จากแบบสำรวจที่จัดทำขึ้นโดยการสนับสนุนของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) และบริษัท Amgen ในการสัมภาษณ์ผู้ป่วยกระดูกหักจากความเปราะบาง จำนวน 400 คน จากประเทศในเอเชีย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และเกิดกระดูกหักจากความเปราะบาง ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า1
“กว่า 80% ของผู้ป่วย เชื่อว่าสุขภาพกระดูกที่อ่อนแอของพวกเขานั้น เป็นภาวะปกติจากการที่มีอายุที่เพิ่มขึ้น”
เพราะเหตุใดผู้ป่วยจึงคิดเช่นนั้น:
กระดูกหักเกิดขึ้นจากภัยเงียบที่เรียกว่า โรคกระดูกพรุน ซึ่งส่งผลให้กระดูกอ่อนแอ เปราะบาง และ เสี่ยงที่จะแตกหักได้ง่าย2
เมื่อเป็นโรคกระดูกพรุน โครงสร้างภายในกระดูกจะเริ่มสลาย ซึ่งเกิดขึ้นรวดเร็วกว่าการสร้างกระดูกใหม่ทดแทน ส่งผลให้กระดูกอ่อนแอลง โรคกระดูกพรุนถูกเรียกว่า “ภัยเงียบ” เพราะคุณจะไม่รู้สึกว่ากระดูกกำลังอ่อนแอ ส่วนมากพบว่ามีภาวะกระดูกหักเป็นสัญญาณแรกที่ทำให้รู้ว่าเป็นโรคกระดูกพุรน
กด ตรงนี้ เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน
หากคุณอายุ 50 ปีขึ้นไปและมีภาวะหมดประจำเดือน คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับการตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
ภาวะกระดูกหักไม่ใช่เรื่องปกติที่เกิดขึ้นตามวัยที่เพิ่มขึ้น แต่อาจเป็นสัญญาณว่าคุณเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้
References
1 Healthy Bones Australia. Calcium and bone health. healthybonesaustralia.org.au.
2 International Osteoporosis Foundation. The Asia Audit: Epidemiology, costs and burden of osteoporosis in Asia 2009. 2009. osteoporosis.foundation/audits.
3 Shea B, et al. Endocr Rev 2002;23:552–59.
4 International Osteoporosis Foundation. Serve up bone strength throughout your life. 2015. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/brochures.
1 Healthy Bones Australia. Vitamin D and bone health. healthybonesaustralia.org.au.
5 International Osteoporosis Foundation. Vitamin D. osteoporosis.foundation/patients/prevention/vitamin-d.
7 International Osteoporosis Foundation. Love your bones: Protect your future. 2016. osteoporosis.foundation/educational-hub/material/brochures.