คุณเคยกระดูกหักหรือไม่? ในแต่ละวันจะมีคนที่ประสบปัญหาจากภาวะกระดูกหัก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการหกล้มเพียงเล็กน้อย เช่น ลื่นล้มในห้องครัว โดยอาจมองว่าเป็นเพียงอุบัติเหตุ แต่ความจริงแล้วการเกิดกระดูกหักนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคกระดูกพรุน1-3
ภาวะกระดูกหักจากความเปราะบาง คือภาวะที่เกิดกระดูกหักจากการหกล้มในระดับที่ไม่สูงเกินระดับศีรษะ การเกิดกระดูกหักจากการกระแทกเพียงเล็กน้อยนั้น เป็นสัญญาณเตือนว่ากระดูกของท่านกำลังอ่อนแอจากโรคกระดูกพรุน4 โดยพบว่ามีคนที่ต้องเผชิญกับภาวะกระดูกหักที่มีสาเหตุมาจากโรคกระดูกพรุนทุกๆ 3 วินาทีทั่วโลก5
ภาวะกระดูกหักจากความเปราะบางที่เกิดขึ้นครั้งแรก อาจดูเหมือนเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย เช่น กระดูกข้อมือหัก ซึ่งต้องใช้เวลาระหว่าง 8 สัปดาห์ ถึง 6 เดือนที่กระดูกจะกลับมาเชื่อมติดกัน และยังคงรู้สึกไม่สบายหรือตึงบริเวณนั้นไปอีกระยะหนึ่ง6 อย่างไรก็ตาม หากท่านต้องเผชิญกับภาวะกระดูกหักครั้งถัดไป อาจจะมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น กระดูกสะโพก หรือกระดูกสันหลังหัก การเกิดกระดูกสะโพกหักนั้นมักจะเกิดผลที่รุนแรงตามมา โดยส่วนใหญ่ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ต้องมีคนคอยดูแล หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต4
แต่ละครั้งที่มีภาวะกระดูกหักจากความเปราะบาง ความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักในอนาคตจะเพิ่มขึ้น
ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญ เพราะการเกิดกระดูกหักเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้นได้
หากคุณมีอายุ 50 ปีขึ้นไป และเคยเกิดภาวะกระดูกหักจากการหกล้มหรือการกระแทกเพียงเล็กน้อย คุณควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับคุณ เพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหักเพิ่มในอนาคต10,11 ปรึกษาแพทย์ของคุณ เพื่อดูแลสุขภาพกระดูกให้แข็งแรงขึ้น
กด ตรงนี้ เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
References
1 International Osteoporosis Foundation. Facts and statistics. www.iofbonehealth.org.
2 International Agency for Research on Cancer. Cancer Today. 2018. gco.iarc.fr.
3 International Osteoporosis Foundation. The Asia-Pacific regional audit. Epidemiology, costs & burden of osteoporosis in 2013. 2013. www.iofbonehealth.org.
4 International Osteoporosis Foundation. That’s osteoporosis. A compact guide to osteoporosis and its prevention and treatment. 2019. www.iofbonehealth.org.
5 Cooper C. Am J Med 1997;103:12S-17S; discussion 17S–19S.